วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่4 การผลิตแผ่นพับ

การผลิตแผ่นพับ
แผ่นพับ (Brochure) หมายถึง สื่อโฆษณาที่เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทไดเร็กเมล (Direct Mail)ผู้ผลิส่งตรงถึงผู้บริโภค
ลักษณะเด่นของแผ่นพับ คือ มีขนาดเล็ก หยิบง่าย รายละเอียดได้มากพอสมควร
วิธีการออกแบบแผ่นพับ
แผ่นพับเมื่อพับแล้วจะมีจำนวนหน้าอย่างน้อย 4 หน้า และเกิน 16 หน้า
ไม่นิยมใส่เลขหน้า
ต้องกำหนดให้ข้อมูลแต่ละหน้าจบในตัวของมันเอง
ต้องคำนึงถึงการวางรูปภาพซึ่งจะต้องสอดคล้องกัน
วิธีการออกแบบแผ่นพับ
แผ่นพับเมื่อพับแล้วจะมีจำนวนหน้าอย่างน้อย 4 หน้า และเกิน 16 หน้า
ไม่นิยมใส่เลขหน้า
ต้องกำหนดให้ข้อมูลแต่ละหน้าจบในตัวของมันเอง
ต้องคำนึงถึงการวางรูปภาพซึ่งจะต้องสอดคล้องกัน

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่3 การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา

การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากในวงการประชาสัมพันธ์ เพราะแผ่นป้ายโฆษณาสามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่ สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ สามารถออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระ เพื่อโน้มน้าวความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) หมายถึงแผ่นป้ายที่สามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้
1 .แผ่นป้ายโฆษณาต้องเป็นแผ่นเดียว สามารถติดลงบนพื้นผิวประเภทใดก็ได้
2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
3. ใช้สำหรับปิดไว้ในที่สาธารณะ
4. สามารถผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากได้
ลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณา
การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการสร้างสรรค์ให้มีลักษณะโดดเด่น เร้าใจมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีขอบเขต ดังนั้นการวางแผนการผลิตจึงเป็นไปอย่างคล่องตัว มีแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการเน้นความแปลกตา สวยงาม ซึ่งลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณาควรสนองแนวคิด 5 ประการ ดังนี้
1. ตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์
2. มีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายต้องมีความชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม
3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอต้องสอดคล้อง สัมพันธ์กัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4. สามารถเข้าใจได้ง่าย ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
5. มีความกะทัดรัด แสดงแนวคิดหลักเพียงอย่างเดียว
ข้อดี-ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณา
1. ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง และสามารถเลือกติดตั้งเฉพาะพื้นที่ได้
2. มีความถี่ในการมองเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเส้นทาง หรือบริเวณที่ต้องเดินผ่านไปมาเสมอ
3. สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
4. ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาในการนำเสนอข้อมูล
5. ข้อความที่กะทัดรัด ทำให้เกิดความสนใจและเป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดการจดจำ
ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
1. การนำเสนอข้อมูลมีข้อจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่น ๆ
2. การติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับความสนใจน้อย
3. การผลิตจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง เสียค่าใช้จ่ายมาก
4. เป็นการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
การออกแบบโครงร่างแผ่นป้ายโฆษณา
ในการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณานั้น ควรทำการออกแบบโครงร่างไว้ก่อน ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการออกแบบฌโครงร่าง คือ ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูลบริษัท หรือหน่วยงาน ได้แก่
โลโก้
ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์
หมายเลขโทรสาร
E-Mail Address
2. ข้อความโฆษณาเชิญชวนให้ทราบ
หลักการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณา
การกำหนดขนาดของแผ่นป้ายโฆษณา
ขนาดของแผ่นป้ายโฆษณามีหลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโฆษณา โดยทั่วไปขนาดของแผ่นป้ายโฆษณาที่นิยมใช้งานมี 2 ขนาด ดังนี้
1. ขนาด 31 x 43 นิ้ว หรือ 24 x 35 นิ้ว
2. ขนาด 10 x 21 นิ้ว หรือ 24 x 11.5 นิ้ว
การกำหนดรูปภาพประกอบของแผ่นป้ายโฆษณา
รูปภาพประกอบในแผ่นป้ายโฆษณา ได้แก่ รูปภาพจากการถ่ายภาพ รูปภาพจากการวาดเขียนระบายสี ซึ่งแนวคิดในการออกแบบรูปภาพ คือ การกำหนดขนาดของรูปภาพ กำหนดเรื่องราวของรูปภาพ กำหนดรูปแบบของรูปภาพ เทคนิคในการสร้างสรรค์รูปภาพ โครงสีในรูปภาพ ความสวยงาม ความคมชัด การวางตำแหน่งรูปภาพที่เหมาะสมเป็นการสร้างจุดสนใจได้ดี วิธีที่ง่ายที่สุดคือการวางรูปภาพไว้ตรงกลาง ซึ่งเป็นบริเวณจุดศูนย์กลางความสนใจในการมอง (Optical Center)
Herman F. Brandt ได้ทำการศึกษาถึงจุดสนใจของตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพ จากการมองในกรอบสี่เหลี่ยมของขนาดกระดาษ ได้ผลสรุปจุดสนใจในการมองของคนเรา

บทที่3 การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา

การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากในวงการประชาสัมพันธ์ เพราะแผ่นป้ายโฆษณาสามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่ สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ สามารถออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระ เพื่อโน้มน้าวความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) หมายถึงแผ่นป้ายที่สามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้
1 .แผ่นป้ายโฆษณาต้องเป็นแผ่นเดียว สามารถติดลงบนพื้นผิวประเภทใดก็ได้
2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
3. ใช้สำหรับปิดไว้ในที่สาธารณะ
4. สามารถผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากได้
ลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณา
การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการสร้างสรรค์ให้มีลักษณะโดดเด่น เร้าใจมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีขอบเขต ดังนั้นการวางแผนการผลิตจึงเป็นไปอย่างคล่องตัว มีแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการเน้นความแปลกตา สวยงาม ซึ่งลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณาควรสนองแนวคิด 5 ประการ ดังนี้
1. ตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์
2. มีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายต้องมีความชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม
3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอต้องสอดคล้อง สัมพันธ์กัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4. สามารถเข้าใจได้ง่าย ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
5. มีความกะทัดรัด แสดงแนวคิดหลักเพียงอย่างเดียว
ข้อดี-ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณา
1. ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง และสามารถเลือกติดตั้งเฉพาะพื้นที่ได้
2. มีความถี่ในการมองเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเส้นทาง หรือบริเวณที่ต้องเดินผ่านไปมาเสมอ
3. สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
4. ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาในการนำเสนอข้อมูล
5. ข้อความที่กะทัดรัด ทำให้เกิดความสนใจและเป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดการจดจำ
ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
1. การนำเสนอข้อมูลมีข้อจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่น ๆ
2. การติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับความสนใจน้อย
3. การผลิตจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง เสียค่าใช้จ่ายมาก
4. เป็นการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
การออกแบบโครงร่างแผ่นป้ายโฆษณา
ในการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณานั้น ควรทำการออกแบบโครงร่างไว้ก่อน ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการออกแบบฌโครงร่าง คือ ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูลบริษัท หรือหน่วยงาน ได้แก่
โลโก้
ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์
หมายเลขโทรสาร
E-Mail Address
2. ข้อความโฆษณาเชิญชวนให้ทราบ
หลักการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณา
การกำหนดขนาดของแผ่นป้ายโฆษณา
ขนาดของแผ่นป้ายโฆษณามีหลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโฆษณา โดยทั่วไปขนาดของแผ่นป้ายโฆษณาที่นิยมใช้งานมี 2 ขนาด ดังนี้
1. ขนาด 31 x 43 นิ้ว หรือ 24 x 35 นิ้ว
2. ขนาด 10 x 21 นิ้ว หรือ 24 x 11.5 นิ้ว
การกำหนดรูปภาพประกอบของแผ่นป้ายโฆษณา
รูปภาพประกอบในแผ่นป้ายโฆษณา ได้แก่ รูปภาพจากการถ่ายภาพ รูปภาพจากการวาดเขียนระบายสี ซึ่งแนวคิดในการออกแบบรูปภาพ คือ การกำหนดขนาดของรูปภาพ กำหนดเรื่องราวของรูปภาพ กำหนดรูปแบบของรูปภาพ เทคนิคในการสร้างสรรค์รูปภาพ โครงสีในรูปภาพ ความสวยงาม ความคมชัด การวางตำแหน่งรูปภาพที่เหมาะสมเป็นการสร้างจุดสนใจได้ดี วิธีที่ง่ายที่สุดคือการวางรูปภาพไว้ตรงกลาง ซึ่งเป็นบริเวณจุดศูนย์กลางความสนใจในการมอง (Optical Center)
Herman F. Brandt ได้ทำการศึกษาถึงจุดสนใจของตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพ จากการมองในกรอบสี่เหลี่ยมของขนาดกระดาษ ได้ผลสรุปจุดสนใจในการมองของคนเรา

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่2 การผลิตนามบัตร

การผลิตนามบัตร
นามบัตร (Name Card) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก ใช้แสดงข้อมูลส่วนตัวเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกัน
ทางธุรกิจ
การออกแบบโครงร่างของนามบัตร
ในการผลิตนามบัตร สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การออกแบบโครงร่างของนามบัตรไว้ก่อน โดยทั่ว ๆ ไป นามบัตรจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ชื่อ – นามสกุล ภาษาไทย
2. ชื่อ – นามสกุล ภาษาอังกฤษ
3. ตำแหน่ง
4. โลโก้บริษัท
5. ชื่อบริษัท
6. ที่อยู่บริษัท
7. หมายเลขโทรศัพท์
8. หมายเลขโทรสาร
การจัดทำนามบัตรด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2007
1. เข้าสู่โปรแกรม Microsoft Word 2007 โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start ----> Program----> Microsoft Word 2003
2. เลือกคำสั่งแฟ้ม -----> ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3. ปรับระยะขอบทุก ๆ ด้านโดยให้ปรับขนาด 1 นิ้ว ทุก ๆ ด้าน หรือตามความต้องการ
4. เลือกคำสั่ง แทรก -----> กล่องข้อความ จะเกิดกล่องข้อความขึ้นมา ปรับขนาดตามต้องการก่อน โดยให้ปรับขนาด 1 นิ้ว ทุก ๆ ด้าน หรือตามความต้องการ
5. เมื่อเราปรับขนาดเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปในด้านในหรือแทรกรูปภาพก็ได้ตามโครงร่างนามบัตรที่ออกแบบไว้
6. ใช้คำสั่ง copy กล่องข้อความที่เป็นนามบัตร ที่ได้สร้างขึ้น และไปคลิกเมาส์บนพื้นที่ว่าง แล้วใช้คำสั่ง paste จัดเรียงกล่องข้อความที่เราได้ paste ตามต้องการ
การเปลี่ยนทิศทางของข้อความในกล่องข้อความ
ข้อความในกล่องข้อความโดยปกติถูกวางในแนวนอน ถ้าต้องการเปลี่ยนให้อยู่ในแนวตั้ง ทำได้โดยใส่ข้อความลงในกล่องข้อความ แล้วทำการเปลี่ยนทิศ
เลือกเมนู รูปแบบ -----> ทิศทางข้อความ
จะปรากฏเมนูย่อยเพื่อให้เลือกทิศทางข้อความ
เลือกทิศทางของข้อความที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม ตกลง จะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
ารใส่ภาพตัดปะ (Clip Art)
ภาพตัดปะเป็นภาพสำเร็จที่สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยโปรแกรม Microsoft office ได้จัดแยกภาพเหล่านี้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมี Clip Organizer เป็นตัวจัดการภาพตัดปะเหล่านั้น ทำให้สะดวกในการค้นหาภาพที่ต้องการ