วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่4 การผลิตแผ่นพับ

การผลิตแผ่นพับ
แผ่นพับ (Brochure) หมายถึง สื่อโฆษณาที่เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทไดเร็กเมล (Direct Mail)ผู้ผลิส่งตรงถึงผู้บริโภค
ลักษณะเด่นของแผ่นพับ คือ มีขนาดเล็ก หยิบง่าย รายละเอียดได้มากพอสมควร
วิธีการออกแบบแผ่นพับ
แผ่นพับเมื่อพับแล้วจะมีจำนวนหน้าอย่างน้อย 4 หน้า และเกิน 16 หน้า
ไม่นิยมใส่เลขหน้า
ต้องกำหนดให้ข้อมูลแต่ละหน้าจบในตัวของมันเอง
ต้องคำนึงถึงการวางรูปภาพซึ่งจะต้องสอดคล้องกัน
วิธีการออกแบบแผ่นพับ
แผ่นพับเมื่อพับแล้วจะมีจำนวนหน้าอย่างน้อย 4 หน้า และเกิน 16 หน้า
ไม่นิยมใส่เลขหน้า
ต้องกำหนดให้ข้อมูลแต่ละหน้าจบในตัวของมันเอง
ต้องคำนึงถึงการวางรูปภาพซึ่งจะต้องสอดคล้องกัน

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่3 การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา

การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากในวงการประชาสัมพันธ์ เพราะแผ่นป้ายโฆษณาสามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่ สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ สามารถออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระ เพื่อโน้มน้าวความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) หมายถึงแผ่นป้ายที่สามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้
1 .แผ่นป้ายโฆษณาต้องเป็นแผ่นเดียว สามารถติดลงบนพื้นผิวประเภทใดก็ได้
2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
3. ใช้สำหรับปิดไว้ในที่สาธารณะ
4. สามารถผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากได้
ลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณา
การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการสร้างสรรค์ให้มีลักษณะโดดเด่น เร้าใจมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีขอบเขต ดังนั้นการวางแผนการผลิตจึงเป็นไปอย่างคล่องตัว มีแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการเน้นความแปลกตา สวยงาม ซึ่งลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณาควรสนองแนวคิด 5 ประการ ดังนี้
1. ตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์
2. มีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายต้องมีความชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม
3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอต้องสอดคล้อง สัมพันธ์กัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4. สามารถเข้าใจได้ง่าย ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
5. มีความกะทัดรัด แสดงแนวคิดหลักเพียงอย่างเดียว
ข้อดี-ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณา
1. ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง และสามารถเลือกติดตั้งเฉพาะพื้นที่ได้
2. มีความถี่ในการมองเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเส้นทาง หรือบริเวณที่ต้องเดินผ่านไปมาเสมอ
3. สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
4. ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาในการนำเสนอข้อมูล
5. ข้อความที่กะทัดรัด ทำให้เกิดความสนใจและเป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดการจดจำ
ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
1. การนำเสนอข้อมูลมีข้อจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่น ๆ
2. การติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับความสนใจน้อย
3. การผลิตจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง เสียค่าใช้จ่ายมาก
4. เป็นการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
การออกแบบโครงร่างแผ่นป้ายโฆษณา
ในการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณานั้น ควรทำการออกแบบโครงร่างไว้ก่อน ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการออกแบบฌโครงร่าง คือ ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูลบริษัท หรือหน่วยงาน ได้แก่
โลโก้
ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์
หมายเลขโทรสาร
E-Mail Address
2. ข้อความโฆษณาเชิญชวนให้ทราบ
หลักการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณา
การกำหนดขนาดของแผ่นป้ายโฆษณา
ขนาดของแผ่นป้ายโฆษณามีหลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโฆษณา โดยทั่วไปขนาดของแผ่นป้ายโฆษณาที่นิยมใช้งานมี 2 ขนาด ดังนี้
1. ขนาด 31 x 43 นิ้ว หรือ 24 x 35 นิ้ว
2. ขนาด 10 x 21 นิ้ว หรือ 24 x 11.5 นิ้ว
การกำหนดรูปภาพประกอบของแผ่นป้ายโฆษณา
รูปภาพประกอบในแผ่นป้ายโฆษณา ได้แก่ รูปภาพจากการถ่ายภาพ รูปภาพจากการวาดเขียนระบายสี ซึ่งแนวคิดในการออกแบบรูปภาพ คือ การกำหนดขนาดของรูปภาพ กำหนดเรื่องราวของรูปภาพ กำหนดรูปแบบของรูปภาพ เทคนิคในการสร้างสรรค์รูปภาพ โครงสีในรูปภาพ ความสวยงาม ความคมชัด การวางตำแหน่งรูปภาพที่เหมาะสมเป็นการสร้างจุดสนใจได้ดี วิธีที่ง่ายที่สุดคือการวางรูปภาพไว้ตรงกลาง ซึ่งเป็นบริเวณจุดศูนย์กลางความสนใจในการมอง (Optical Center)
Herman F. Brandt ได้ทำการศึกษาถึงจุดสนใจของตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพ จากการมองในกรอบสี่เหลี่ยมของขนาดกระดาษ ได้ผลสรุปจุดสนใจในการมองของคนเรา

บทที่3 การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา

การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากในวงการประชาสัมพันธ์ เพราะแผ่นป้ายโฆษณาสามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่ สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ สามารถออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระ เพื่อโน้มน้าวความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) หมายถึงแผ่นป้ายที่สามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้
1 .แผ่นป้ายโฆษณาต้องเป็นแผ่นเดียว สามารถติดลงบนพื้นผิวประเภทใดก็ได้
2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
3. ใช้สำหรับปิดไว้ในที่สาธารณะ
4. สามารถผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากได้
ลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณา
การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการสร้างสรรค์ให้มีลักษณะโดดเด่น เร้าใจมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีขอบเขต ดังนั้นการวางแผนการผลิตจึงเป็นไปอย่างคล่องตัว มีแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการเน้นความแปลกตา สวยงาม ซึ่งลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณาควรสนองแนวคิด 5 ประการ ดังนี้
1. ตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์
2. มีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายต้องมีความชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม
3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอต้องสอดคล้อง สัมพันธ์กัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4. สามารถเข้าใจได้ง่าย ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
5. มีความกะทัดรัด แสดงแนวคิดหลักเพียงอย่างเดียว
ข้อดี-ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณา
1. ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง และสามารถเลือกติดตั้งเฉพาะพื้นที่ได้
2. มีความถี่ในการมองเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเส้นทาง หรือบริเวณที่ต้องเดินผ่านไปมาเสมอ
3. สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
4. ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาในการนำเสนอข้อมูล
5. ข้อความที่กะทัดรัด ทำให้เกิดความสนใจและเป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดการจดจำ
ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
1. การนำเสนอข้อมูลมีข้อจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่น ๆ
2. การติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับความสนใจน้อย
3. การผลิตจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง เสียค่าใช้จ่ายมาก
4. เป็นการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
การออกแบบโครงร่างแผ่นป้ายโฆษณา
ในการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณานั้น ควรทำการออกแบบโครงร่างไว้ก่อน ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการออกแบบฌโครงร่าง คือ ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูลบริษัท หรือหน่วยงาน ได้แก่
โลโก้
ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์
หมายเลขโทรสาร
E-Mail Address
2. ข้อความโฆษณาเชิญชวนให้ทราบ
หลักการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณา
การกำหนดขนาดของแผ่นป้ายโฆษณา
ขนาดของแผ่นป้ายโฆษณามีหลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโฆษณา โดยทั่วไปขนาดของแผ่นป้ายโฆษณาที่นิยมใช้งานมี 2 ขนาด ดังนี้
1. ขนาด 31 x 43 นิ้ว หรือ 24 x 35 นิ้ว
2. ขนาด 10 x 21 นิ้ว หรือ 24 x 11.5 นิ้ว
การกำหนดรูปภาพประกอบของแผ่นป้ายโฆษณา
รูปภาพประกอบในแผ่นป้ายโฆษณา ได้แก่ รูปภาพจากการถ่ายภาพ รูปภาพจากการวาดเขียนระบายสี ซึ่งแนวคิดในการออกแบบรูปภาพ คือ การกำหนดขนาดของรูปภาพ กำหนดเรื่องราวของรูปภาพ กำหนดรูปแบบของรูปภาพ เทคนิคในการสร้างสรรค์รูปภาพ โครงสีในรูปภาพ ความสวยงาม ความคมชัด การวางตำแหน่งรูปภาพที่เหมาะสมเป็นการสร้างจุดสนใจได้ดี วิธีที่ง่ายที่สุดคือการวางรูปภาพไว้ตรงกลาง ซึ่งเป็นบริเวณจุดศูนย์กลางความสนใจในการมอง (Optical Center)
Herman F. Brandt ได้ทำการศึกษาถึงจุดสนใจของตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพ จากการมองในกรอบสี่เหลี่ยมของขนาดกระดาษ ได้ผลสรุปจุดสนใจในการมองของคนเรา

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่2 การผลิตนามบัตร

การผลิตนามบัตร
นามบัตร (Name Card) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก ใช้แสดงข้อมูลส่วนตัวเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกัน
ทางธุรกิจ
การออกแบบโครงร่างของนามบัตร
ในการผลิตนามบัตร สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การออกแบบโครงร่างของนามบัตรไว้ก่อน โดยทั่ว ๆ ไป นามบัตรจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ชื่อ – นามสกุล ภาษาไทย
2. ชื่อ – นามสกุล ภาษาอังกฤษ
3. ตำแหน่ง
4. โลโก้บริษัท
5. ชื่อบริษัท
6. ที่อยู่บริษัท
7. หมายเลขโทรศัพท์
8. หมายเลขโทรสาร
การจัดทำนามบัตรด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2007
1. เข้าสู่โปรแกรม Microsoft Word 2007 โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start ----> Program----> Microsoft Word 2003
2. เลือกคำสั่งแฟ้ม -----> ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3. ปรับระยะขอบทุก ๆ ด้านโดยให้ปรับขนาด 1 นิ้ว ทุก ๆ ด้าน หรือตามความต้องการ
4. เลือกคำสั่ง แทรก -----> กล่องข้อความ จะเกิดกล่องข้อความขึ้นมา ปรับขนาดตามต้องการก่อน โดยให้ปรับขนาด 1 นิ้ว ทุก ๆ ด้าน หรือตามความต้องการ
5. เมื่อเราปรับขนาดเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปในด้านในหรือแทรกรูปภาพก็ได้ตามโครงร่างนามบัตรที่ออกแบบไว้
6. ใช้คำสั่ง copy กล่องข้อความที่เป็นนามบัตร ที่ได้สร้างขึ้น และไปคลิกเมาส์บนพื้นที่ว่าง แล้วใช้คำสั่ง paste จัดเรียงกล่องข้อความที่เราได้ paste ตามต้องการ
การเปลี่ยนทิศทางของข้อความในกล่องข้อความ
ข้อความในกล่องข้อความโดยปกติถูกวางในแนวนอน ถ้าต้องการเปลี่ยนให้อยู่ในแนวตั้ง ทำได้โดยใส่ข้อความลงในกล่องข้อความ แล้วทำการเปลี่ยนทิศ
เลือกเมนู รูปแบบ -----> ทิศทางข้อความ
จะปรากฏเมนูย่อยเพื่อให้เลือกทิศทางข้อความ
เลือกทิศทางของข้อความที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม ตกลง จะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
ารใส่ภาพตัดปะ (Clip Art)
ภาพตัดปะเป็นภาพสำเร็จที่สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยโปรแกรม Microsoft office ได้จัดแยกภาพเหล่านี้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมี Clip Organizer เป็นตัวจัดการภาพตัดปะเหล่านั้น ทำให้สะดวกในการค้นหาภาพที่ต้องการ

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของธุรกิจ

ธุรกิจอุตสาหกรรม หมายถึง ธุรกิจที่มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยมีการนำวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เพื่อแปรรูปเป็นสินค้าตาที่ต้องการ ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิต ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก จำนวนการผลิตมีปริมาณสูง ประเภทส่วนประกอบในการผลิตที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการสั่งซื้อจากธุรกิจขนาดย่อม ดังนั้นธุรกิจขนาดย่อมที่มีการผลิตที่เป็นอิสระ มีโอกาสผลิตสินค้าให้กับผู้ผลิตรายอื่น ๆ มากที่สุด เช่น โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ต้องอาศัยน็อตจากโรงงานขนาดย่อม โรงงานผลิตตู้เย็นและตู้แช่ ต้องซื้อโครงตู้พลาสติก เป็นต้น

ธุรกิจบริการ หมายถึง ธุรกิจที่มีการเสนอการบริการที่มีความแตกต่างกันไปแต่ละประเภท เช่น ช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่มีทั้งภาครัฐและเอกชน และไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ลักษณะของธุรกิจประเภทนี้มักเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีการลงทุนน้อย มีผู้ดำเนินการธุรกิจเพียงคนเดียว เช่น ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ ร้านซ่อมนาฬิกา เป็นต้น

ธุรกิจพาณิชยกรรม หมายถึง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าคนกลางที่อยู่ในช่วงของการจัดจำหน่ายสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือผู้ค้าปลีกและส่ง ที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภค เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสหกรณ์ ร้านขายของชำ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของธุรกิจขนาดย่อม

1. คน ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการจัดตั้งสถานประกอบการ เพราะในการดำเนินการทุกอย่าง คนต้องเป็นหลักในการที่จะทำให้เกิดธุรกิจและบริการ ต้องอาศัยคนในการควบคุม ต้องอาศัยสมองคนในการดำเนินการโฆษณาและขายสินค้าออก โดยการวางแผนให้ได้กำไรมากที่สุด
2. เงิน ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในทั่วโลกว่ามีความสำคัญ นอกจากจะมีคนเป็นหลักแล้ว เงินเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้คนมีความกระตือรือร้น ขยันทำงาน เช่น การให้สวัสดิการต่าง ๆ การให้เงินแก่พนักงานในการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
3. เครื่องมือเครื่องจักร ในบางครั้งการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและได้จำนวนมาก ๆ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องจักรในการผลิต การผลิตจากฝีมือคนจะได้มาตรฐานที่ไม่เท่ากัน แต่การผลิตโดยเครื่องจักรแล้วจะได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน
4. วัตถุดิบ ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้า เพราะสินค้าจะมีคุณภาพดีจะต้องได้วัตถุดิบที่ดี
5. การจัดการ คุณภาพสินค้าเท่า ๆ กันแต่ต้นทุนการผลิตอาจจะแตกต่างกัน เพราะการบริหารจัดการในการเพิ่มผลผลิต หรือใช้หลักการสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตแทนระบบการผลิตสิ้นค้าแบบเดิม ๆ
6. การตลาดถือได้ว่าเป็นส่วนของผู้บริโภคสินค้าที่ผลิตออกมา เทคนิคในการทำการตลาดนั้นมีมากมายหลายวิธี แต่การ
ตลาดจะดำเนินการประสบผลสำเร็จเพียงใดนั้น สิ่งที่สำคัญก็คือ สินค้าต้องมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของประชาชน
7. ขวัญและกำลังใจ จะต้องหมั่นสังเกตดูพนักงานในโรงงานและบริษัทว่ามีความต้องการสิ่งใด ถ้าความต้องการเน้นเป็นสิ่งที่บริษัทจัดหาได้แล้วทำให้การเพิ่มผลผลิตภายในบริษัทมากขึ้น และเป็นที่ต้องการของพนักงานภายในบริษัทหรือธุรกิจขนาดย่อม ก็ควรที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน

ลักษณะโดยทั่วไปของธุรกิจขนาดย่อม

1. เครื่องจักร เครื่องมือใช้เทคโนโลยีไม่สูง จะใช้เครื่องจักร เครื่องมือในระดับต้นถึงระดับกลาง ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง
จักรที่อาจใช้เทคโนโลยีสูง ทำให้ไม่ต้องเสียเงินมากในการจัดซื้อเครื่องมือ
2. ใช้เงินลงทุนน้อย สามารถดำเนินการได้กว้าง เพราะประกอบด้วยธุรกิจทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม รวมถึงการบริการต่าง ๆ จะทำให้เกิดการลงทุนน้อยในบางธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธุรกิจขนาดย่อมอาจเป็นการใช้แรงงานของสมาชิกภายในครัวเรือนหรือพี่น้องกัน ซึ่งจะเกิดผลเสียคือ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องทำงานหนักอาจจะทำหน้าที่ผู้บริการจนกระทั่งเป็นแรงงานเอง แต่ก็มีผลดีคือ ผู้เป็นเจ้าของหรือธุรกิจภายในครอบครัว สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและฉับไว
3. ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมสามารถใช้ฝีมือที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพราะว่าผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนส่วนตัวมาก ทำให้ผู้ประกอบการมีขวัญและกำลังใจในการบริการดี
4. มีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจ เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ไม่ยุ่งยากในการประสานงานและแบ่งหน้าที่
กันดำเนินงานภายในบริษัท ทำให้การดำเนินงานบางอย่างสามารถลัดขั้นตอนได้ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน ส่งผลให้การบริหารงานภายในองค์การประสบสำเร็จมีกำไรมาก
5. ตลาดอยู่ทั่วไปในภูมิภาค การประกอบธุรกิจขนาดย่อม สามารถดำเนินการได้ทั่วไปทุก ๆ พื้นที่ในภูมิภาค แล้วแต่ความเหมาะสมและความต้องการของประชากรในชุมชนนั้น เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรจะอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดและไกลออกไป